วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

              1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
                   หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

              2. ซอฟต์แวร์ (Software) 
                    หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                     2.1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                     2.2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

            3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) 
                    คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

            4. บุคลากร (Peopleware) 
                   คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
                  - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
                  - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
                  - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
                  - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)

            5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) 
                   เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

                แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือๆ

       1.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit = CPU) ปรียบเสมือนสมองของ
คอมพิวเตอร์ เพราะทำหน้าที่คิดคำนวณและประมวลผลชุดคำสั่ง ๆที่เราสั่งเข้าไป

       2.หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็นอุปกรณ์ที่รับและส่งข้อมูลเข้าไปในระบบ
คอมพิวเตอร์เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) , และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น

       3.หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ได้จากการประมวลผล
ต่างๆ โดยอาจจะแสดงออกมา เช่น
              - จอภาพ
              - เครื่องพิมพ์
              - แฟกซ์


ที่มาhttp://www.comsimple.com/.html

          http://jsbg.joseph.ac.th/pm08/alesson/computer%20p2/__3.html




























วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

HTML

             HTML (Hyper Text Markup Language)  ถือเป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ (Website) เพื่อให้ข้อมูลแสดงผลบนที่เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) โดยดึงข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet) ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ เสียง เป็นต้น เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย ไฟล์ที่บันทึกจะมีนามสกุล .html 
จะพัฒนาหรือเขียนเว็บไซต์ได้อย่างไร?
            Text Editor ที่นิยมในงานเขียนเว็บไซต์ได้แก่ Dreamweaver, Edit Plus, Notepad++, Notepad ฯลฯ
            Web Browser คือส่วนที่ใช้แสดงผล เช่น IE, Firefox Chrome, Safari, Opera เป็นต้น

คำสั่งเบื้องต้นที่จะกล่าวถึง มีทั้งหมด 4 คำสั่ง ดังนี้
คำสั่งเริ่มต้น
รูปแบบคำสั่ง <HTML>…</HTML>
คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนเวบเพจด้วยภาษา HTML และเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมจะใช้ </HTML>
ส่วนหัวของโปรแกรม
รูปแบบคำสั่ง <HEAD> …</HEAD>
คำสั่ง <HEAD> เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง และภายในคำสั่งนี้จะมีคำสั่งย่อยอีกคำสั่งหนึ่ง คือ <TITLE> และคำสั่งปิดท้ายก็คือ </HEAD> และ </TITLE>
กำหนดข้อความในส่วนของ Title bar
            รูปแบบคำสั่ง <TITLE> …</TITLE>
คำสั่ง <TITLE> เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่จะแสดงในส่วนของ Title Bar และจะปิดท้ายด้วย </TITLE>
ส่วนของเนื้อหา
            รูปแบบคำสั่ง <BODY> …</BODY>
คำสั่ง <BODY> เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงผลตามที่เราต้องการ โดยสิ่งที่เราต้องการที่จะแสดงผล จะอยู่ในส่วนของ <BODY> และจะปิดท้ายโปรแกรมด้วย </BODY> โดยคำสั่งต่างๆ ที่จะใช้ในส่วนของการแสดงผลจะกล่าวในตอนต่อไป
ที่มา : https://krukunlanari.wordpress.com/2014/07/22/%E0%B9%87html-