วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ



                    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่

      1.ฮาร์ดแวร์  
    
             ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย                                  2.ซอฟต์แวร์

                     ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กร ส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น  
                                   3.ข้อมูล

                                ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ                                   4.บุคลากร     
        
                            บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

                              5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                      ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/workm.4_m62551/m4_5/salinee.html

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Responsive Web Design

Responsive Design 

      คือ แนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า One Size Fit All คือ ออกแบบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ได้กับทุกขนาดของหน้าจอ โดยเว็บไซต์จะสามารถตรวจจับขนาดของหน้าจอ และปรับขนาด และ Layout ให้เหมาะสม ตามขนาดของหน้าจอโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ Layout ของเว็บแบบ Flexible Grid, รูปภาพแบบ Flexible Image และ CSS3 Media Query

      บางคนอาจถามว่า ปัจจุบัน เราก็สามารถดูเว็บไซต์ต่างๆบนมือถือได้อยู่แล้ว โดยไม่เห็นต้องออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นแบบ Responsive ให้ยุ่งยาก ซึ่งก็ถูกต้อง แต่สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการออกแบบมาในแบบ Responsive เวลาดูข้อมูล จะต้องใช้การ Zoom เข้ามาดูทีละส่วน เพราะว่าไม่มีความสามารถในการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามขนาดของหน้าจอนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบมาในแบบ Responsive ซึ่งจะสามารถปรับ ขนาดของรูปภาพ และ Layout ของเว็บ ให้เหมาะสมตามขนาดของหน้าจอ ทำให้ดูข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ประโยชน์ของการออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive
1.แสดงผลได้สวยงาม บนขนาดหน้าจอที่แตกต่าง
2.ออกแบบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ได้กับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย
3.มี Experience ในการใช้งานที่ดีกว่า ดูข้อมูลได้ง่าย โดยไม่ต้อง Zoom
4.ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการทำ 2 เว็บไซต์
5.ช่วยในเรื่องของการทำ SEO (Search Engine Optimization)

Responsive Design ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่องของการปรับรูปแบบแสดงผลเป็นหลัก แต่ก็ยังขาดสมบูรณ์ในเรื่องของความสามารถในการช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของ Bandwidth ยกตัวอย่างเช่น การแสดงผลรูปภาพ ซึ่งใช้วิธีการ ย่อ/ขยาย scale ของรูป เพื่อให้แสดงผลได้เหมาะสมบนหน้าจอขนาดต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังคงใช้ไฟล์รูปภาพไฟล์เดียวกันกับที่ใช้แสดงผลบน Notebook/PC ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีขนาดใหญ่ และมีความต้องการ Bandwidth สูง ทำให้เมื่อนำมาแสดงผลบน Mobile Device ถึงแม้จะปรับย่อขนาดให้ดูเล็กลง แต่เนื่องจากขนาดของไฟล์ที่ยังคงมีขนาดเท่าเดิม ทำให้แสดงผลได้ช้า และเป็นการสิ้นเปลือง Bandwidth โดยไม่จำเป็น ซึ่งมาตรฐานในส่วนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งคาดว่าคงจะมีให้ใช้กันในอีกไม่ช้านี้

ที่มา : http://8columns.com/articles/50009/1387278156096