วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รูปแบบของไฟล์วิดีโอ

             ไฟล์วิดีโอที่นำมาใช้งานกับนั้นมีหลายรูปแบบ  โดยเราจะมาทำความรู้จักกับไฟล์วิดีโอแบบต่าง ๆ  เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและตรงตามประเภทของงาน
        MOV
         ไฟล์วีดีโอรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาโดยบริษัท Apple จะนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย และเวปไซต์เป็นส่วนใหญ่ทั้งนี้ต้องติดตั้ง Plug In ไว้ที่เวปเบราเซอร์ (IE , Netscape) ก่อนที่จะนำไฟล์มัลติมีเดียประเภทนี้ (หาดาวน์โหลดได้ที่ www.apple.com) นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบที่เครื่อง Macintosh สามารถนำเสนองานรูปแบบนี้ได้ดีอีกด้วยซึ่งสามารพเปิดผ่านโปรแกรม Quick Time
        AVI ( Audio Video Interleave )
         เป็นไฟล์วีดีโอเช่นเดียวกัน โดยฟอร์แมตนี้จะถูกใช้งานบนเครื่อง พีซี เช่นเมื่อโหลดภาพจากกล้องวีดีโอเข้ามาที่เครื่องคอมก็จะต้องทำเป็นฟอร์แมต AVI ข้อเสียของมันก็คือขนาดใหญ่มากไฟล์วีดีโอแค่ 1 นาที อาจจะต้องใช้พื้นที่เก็บประมาณ 5 – 10 MB มักจะนำไฟล์รูปแบบนี้ไปใช้หรือทำการแปลงเป็นไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น Quick Time , MPEG และอื่นๆ ได้อีกด้วยคุณภาพของการแปลงไฟล์ ภาพและเสียงจะแตกต่างกันเล็กน้อย

        MPEG ( Motion Picture Expert Group )
เป็นรูปแบบของการบีบอัดไฟล์ข้อมูลเสียงหรือไฟล์ วีดีโอให้มีขนาดเล็กลง มักจะใช้ในการสร้างแผ่น VideoCD – VCD SVCD DVD หรือ KaraOk(ไฟล์ที่มีนามสกุล *.mpg) จะต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะอย่างเช่น Power DVD, XingMpeg
MPEG -1
ถือกำเนิดขึ้นมาในปี  2535   ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาด้วยการบีบอัดให้ได้ไฟล์ที่มี ขนาดเล็ก  เพื่อสำหรับการสร้างวิดีโอแบบ  VCD โดยจะมีการบีบอัดข้อมูลสูง   มีค่าบิตเรตอยู่ที่  1.5  Mb/s  ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับเทปวิดีโอ
MPEG -2
ถือกำเนิดขึ้นในปี 2538  ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาเพื่อการสร้างภาพยนตร์โดยเฉพาะ   โดยสามารถสร้างเป็น  SVCD  หรือ   DVD ก็ได้   ซึ่งอัตราการบีบอัดข้อมูลจะน้อยกว่า MPEG-1  ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่าและได้คุณภาพสูงกว่าด้วย  อีกทั้งค่าบิตเรตก็ไม่ตายตัว  ทำให้สามารถกำหนดอัตราการบีบอัดข้อมูลได้เอง
MPEG -3
ถูกพัฒนาไปในรูปแบบของเสียงที่รู้จักกันดีคือ MP3
MPEG -4
เป็นรูปแบบของไฟล์แบบใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในเดือนตุลาคม  2541   จากความร่วมมือกันของวิศวกรทั่วโลกและได้เป็นมาตรฐานของนานาชาติเมื่อปี  2542  ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการดิจิตอลวิดีโอ  เพราะมีรูปแบบการบีบอัดที่ดีกว่า    MPEG-1   และ   MPEG-2   โดยไฟล์ประเภทนี้จะมีคุณภาพของวิดีโอสูง  สามารถสร้างรหัสภาพวิดีโอได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานอยู่  3 ประเภท  คือ  ระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอล   งานด้านแอพพลิเคชันกราฟิกและมัลติมีเดีย ต่างๆ  ปัจจุบัน mp4 ใช้มากในสื่อบนโลกออนไลน์
รายละเอียดของเทคโนโลยี MPEG
มาตรฐานวิดีโอMPEG-1MPEG-2MPEG-4
ความละเอียดสูงสุด352 x 2881920 x 1152720 x 576
มาตรฐานในระบบ PAL352 x 288720 x 576720 x 576
มาตรฐานในระบบ NTSC352 x 288640 x 480640 x 480
ความถี่ของคลื่นเสียงสูงสุด48 kHz96 kHz96 kHz
ช่องสัญญาณเสียงสูงสุด288
จำนวนเฟรมต่อวินาทีในระบบ PAL252525
จำนวนเฟรมต่อวินาทีในระบบ NTSC303030
คุณภาพของวิดีโอพอใช้ดีถึงดีมากดีมาก
ประสิทธิภาพของระบบต่ำสูงสูงมาก

          RM,RPM
             เป็นรูปแบบหนึ่งของไฟล์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นโดย RealNetwork Inc. จะมีรูปแบบเฉพาะตัวในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องที่ เรียกว่า Streaming โดยเฉพาะมีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ปะเภทนี้ได้แก่ RealPlayer RealAudio สามารถนำเสนองานบนอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี 

          Shockwave Flash
              เทคโนโลยีที่นำทั้งภาพและเสียงและยังจะโต้ตอบกับผู้ ใช้งานได้ด้วย เช่นการกดปุ่ม การเปลี่ยนภาพเมื่อคลิ้กที่ Flash สามารถเล่นเกมส์ได้หลายอย่าง อย่างที่เราคุ้นเคยในรูปของเกมส์ Flash นามสกุล .swf

ที่มา : http://kabinburischool.com/Multimedia/unit1.php?page=2

มาตรฐานของวีดีโอแบบต่างๆ

               มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 4  รูปแบบ  คือ   VCD ,  SVCD    DVD และ BD  ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้

             VCD   ( Video  Compact  Disc )
                      เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล   ความจุของแผ่น  VCD  โดยปกติจะอยู่ที่  74/80  นาทีหรือประมาณ  650/700  เมกกะไบต์   โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 1  มีความละเอียดของภาพอยู่ที่  352 x 288  พิกเซลในระบบ  PAL  และ  352 x 240  พิกเซลในระบบ  NTSC   คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป  VHS  ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์    และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD  ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น  CD-R  ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว   และแผ่น  CD-RW  ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้   แต่แผ่น  CD-RW  มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น  VCD  หลายๆ รุ่น

            SVCD  ( Super  Video  Compact  Disc )
                      เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ  VCD  แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า   โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 2  จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ  PAL  และ  480 x 480  พิกเซลในระบบ NTSC   ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น  VCD  หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้   โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น  DVD หรือ  VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก  CD – ROM  จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น

            DVD  ( Digital  Versatile  Disc )
                      เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ  VCD  หลายเท่าตัว  โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่  720 x 480   พิกเซลในระบบ  PAL  และ  720 x 576  พิกเซลในระบบ  NTSC   โดยมาตรฐานของแผ่น  DVD  ก็มีหลายประเภท  เช่น  DVD + R/RW ,  DVD – R/RW ,  DVD + RDL  และ  DVD + RAM  ซึ่งความจุของแผ่น  DVD  ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น  โดยมีตั้งแต่  4.7   กิกะไบต์ไปจนถึง  17  กิกะไบต์   ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย    ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท  DVD  คงจะเข้ามาแทนที่ VCD  ได้ในไม่ช้า

           BD ( Blu-ray Disc )
                       มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

ที่มา : http://ktrm5.blogspot.com/2016/05/1.html

การสร้างผลงานด้วยวิดีโอ

                   การสร้างวิดีโอด้วยตนเองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยวิดีโอสามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการสอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้นภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งการสร้างงานด้วยวิดีโอมีหลากหลายประเภท เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการที่จะให้ผลงานที่สร้างด้วยวิดีโอออกมาในรูปแบบลักษณะใด 

                   การสร้างงานวิดีโอ แบ่งเป็น 2 ประเภท

               1.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึก ภาพเหตุการณ์ แสง สี เสียง จากสถานที่จริง ซึ่งอุปกรณืที่ใช้ทำการบันทึกวิดีโอประเภทนี้ คือ กล้องวิดีโอ แล้วสามารถนำมาตัดต่อภาพและเสียง ด้วยโปแกรมสร้างงานวิดีโอ เพื่อให้วิดีที่บันทึกมีความสมบรูณ์ ไร้ความผิดพลาดขณะทำการถ่ายทำ โปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS โปรแกรม Sony Vegus

               2.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างงานวิดีโอประเภทสื่อการสอนมัลติมีเดีย ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI การสร้างงานวิดีโอชนิดนี้จะมีลักษณะการทำงานโดยการบันทึกภาพและเสียงขณะทำการสอนบรรยายผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เช่นการสอนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Step by Step การสอนโดยนำเสนอทาง Powerpoint โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ hypercam , camtasia เป็นต้น  การใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำบทเรียน การสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเป็นการผลิตวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็สามารถต่อไมโครโฟน เปิดโปรแกรมจับภาพเป็นวิดีโอ และโปรแกรมที่ต้องการสอน แล้วทำการบันทึกวิดีโอได้ทันที



                  การสร้างวิดีโอด้วยการจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีคำแนะนำดังนี้

               1. การอธิบายแต่ละส่วน ให้ทิ้งระยะห่าง ให้ผู้เรียนได้มีเวลาหยุดพัก และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรานำเสนอในวิดีโอ

              2. การเลื่อนเมาส์ ต้องเคลื่อนช้าๆ และเป็นเส้นตรง หรือเคลื่อนในแนวเฉียง ห้ามลากเมาส์สะบัดไปมา คนดูอาจรำคาญได้

              3. การใช้เพลงบรรเลงประกอบ ขณะบันทึกเสียงจะช่วยให้วิดีโอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

          กรณีที่เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะเตรียมสิ่งที่ต้องการสอนหรือนำเสนอ ทำเป็นไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint แล้วใช้โปรแกรมประเภทนี้จับภาพอีกทีก็ได้ เพราะเราสามารถพูดบรรยายไปตามหัวข้อที่จัดเรียงไว้ได้ตามต้องการ

โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
              
             ลักษณะของไฟล์วิดีโอที่ได้จากการบันทึกจากกล้องวิดีโอ และการบันทึกผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ต่างกัน โดยปกติแล้วหากเป็นการบันทึกวิดีโอจากเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะใช้กล้องวิดีโอในการบันทึก หรือใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกคลิปวิดีโอขนาดสั้น สำหรับการบันทึกวิดีโอผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานลักษณะแบบนี้เป็นการบันทึกวิดีโอจากโทรทัศน์โดยการแปลงสัญญาณโทรทัศน์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำการบันทึกโดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึกวิดีโอ โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio 11  หรือจะเป็นการบันทึกไฟล์วิดีโอสดขณะทำการบรรยายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอลักษณะนี้คือ โปรแกรม Camtasia Studio  เป็นต้น
              การใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเพื่อให้ผลงานจากวิดีโอ มีความสมบรูณ์ โดยมีภาพและเสียงที่ชัดเจน การใช้งานของโปรแกรมประเภทการตัดต่อภาพวิดีโอ ใช้เพื่อแก้ไขลักษณะของงานวิดีโอที่บกพร่อง โดยการตัดส่วนที่เสียหายออก เพื่อให้ไฟล์วิดีโอที่จะนำไปใช้งานมีความสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาดจากการบันทึกวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าการบันทึกวิดีโอสดย่อมเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ทุกคนไม่คาดคิด ดังนั้นการจะทำให้วิดีโอออกมาสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาด จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ Ulead video studio , Sony Vegas Adobe , Premiere Pro CS เป็นต้น เมื่อเราทำการตัดต่อวิดีโอได้สมบรูณ์แล้ว เรายังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบต่างๆได้ เช่น AVI , MPEG , WMV ฯลฯ ตามความพอใจของผู้ใช้งาน

การใช้โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ
            โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ หรือโปรแกรมที่เปลี่ยนสกุลไฟล์ต้นฉบับให้สามารถเป็นสกุลไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ต้องการ เช่น MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI ซึ่งไฟล์สกุลเหล่านี้ เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว หรือเป็นกลุ่มของสกุลไฟล์วิดีโอ สาเหตุที่มีสกุลไฟล์ที่ต่างกันเพราะ ไฟล์วิดีโอต่างๆจะมีคุณภาพ หรือความละเอียดของภาพวิดีโอที่ต่างกัน อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเลือกใช้ให้เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้เปิดไฟล์ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิดีโอ เป็นต้น โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอที่ผู้เขียนแนะนำ คือ โปรแกรม Ulead Video Studio 11 เพราะมีไฟล์ Format ให้เลือกใช้หลายไฟล์  ได้แก่  MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI , MP3 , WAV , 3gp ,และอื่นๆเป็นต้น
โปรแกรมสำหรับดูวิดีโอ
            ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่สามารถเปิดดูไฟล์ประเภทวิดีโอได้ แต่โปรแกรมพื้นฐานที่สามารถดูไฟล์วิดีโอได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอยู่แล้วคือโปรแกรม  Windows Media  Player  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่หน้าสนใจ เช่น KMPlayer , Media Player Classic , GOM Player , CyberLink PowerDVD , Winamp  ฯลฯ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างวิดีโอ
            การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างวิดีโอ ควรเลือกเครื่องที่เสป็คต้องแรง ซีพียูความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะการจัดการกับไฟล์วิดีโอที่มีขนาดใหญ่ หากใช้เครื่องที่เสป็คต่ำ การตัดต่อวิดีโอจะช้ามาก การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เป็นโน้ตบุ๊คก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องพิจารณาเสป็คเครื่องเช่นกัน ความเร็วซีพียู แรม ความจุของฮาร์ดดิสก์ต้องสูงๆ สิ่งสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือการ์ดเสียง เมื่ออัดเสียงต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีน้อยที่สุุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อหามิกเซอร์มาใช้งาน ภาพคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างวิดีโอ ไมโครโฟนและมิกเซอร์ขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน การเลือกซื้อแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว และการถ่ายวิดีโอนั้น ต้องพยายามให้มือนิ่งที่สุดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเส้นตรง เพื่อไม่ให้ภาพสั่นเวลาถ่ายภาพอุปกรณ์สำคัญๆ สำหรับสร้างวิดีโอช่วยสอน เช่น คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมสำหรับสร้างวิดีโอ มีไมโครโฟน กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นต้น
ที่มา : http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/90-create-presentation-with-video

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวคิดการสร้างวิดีโอ

ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้

1.  เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......

2.  เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี

3.  ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน

4.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสันและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

5.  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต


ที่มา : https://sites.google.com/site/vdoclassroom/unit1/i1-2-naewkhid-kar-srang-widixo

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิดีโอ คืออะไร ??


วิดีโอ คือ มัลติมีเดียที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายได้ การนำ เสนอวิดีโอมีหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอเพื่อ การศึกษา วิดีโอ เพื่อความบันเทิง ประโยชน์ ของวิดีโอมีมากมาย นอกจากให้ความรู้ ให้ ความบันเทิง ยังสามารถ สร้างรายได้ให้กับผู้ ใช้งาน เช่น วิดีโอนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เป็นต้น

การทำงานของวิดีโอมีหลาย ประเภทซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความ เหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้เข้าใจและสามารถเรียนรู้พร้อมกับ สร้างวิดีโอได้ด้วยตนเองคุณจึงไม่ควรรอช้า ที่จะทำความรู้จักกับการสร้างวิดีโอด้วยตน เองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วย วิดีโอ สามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถ เรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการ สร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอน การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการ สอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้น ภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้าง วิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้ งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง






ชนิดของวิดีโอ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

1.วิดีโออนาล็อก (AnalogVideo) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและ เสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ให้ความคมชัดต่ำ กว่าวิดีโอแบบดิจิตอล วิดีโออนาล็อกจะใช้ เทป VHS (Video Home System) หรือ Hi – 8 ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลจะทำให้ได้วิดีโอที่มี ความคมชัดต่ำ

2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและ เสียงด้วยการแปลสัญญาณคลื่นให้เป็นตัวเลข 0 กับ 1 คุณภาพของวิดีโอที่ได้จะมีความใกล้ เคียงกับต้นฉบับมาก ทำให้สามารถ บันทึก ข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรือ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถ แสดงผลบนคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบน คอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ หากผู้ใช้มีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น

คุณสมบัติของวิดีโอ

วิดีโอมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 อย่างได้แก่ Image , Audio , Video

1.Image ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 อย่างคือ

         1.Width คือความกว้างของภาพวิดีโอ (pixels)

         2.Height คือความสูงของภาพวิดีโอ (pixels)

2.Audio ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ

         1.Duration คือ ช่วงเวลาของเสียง (00.00.00)

         2.Bit Rate คือ อัตราการบีบอัดข้อมูลเสียง (มีหน่วยเป็น kbps)

         3.Audio Format คือรูปแบบการเข้ารหัสไฟล์เสียง ( เช่น .mp3 , .wma , wav)

3.Video ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 อย่าง คือ

         1.Frame Rate คือ ความเร็วในการแสดงผลภาพเคลื่อนไหว โดยมีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (Fps)

         2.Data rate คือ การบีบอัดข้อมูลเสียงและภาพวิดีโอ โดยมีตัว เลขบอกเป็นกิโลบิตต่อวินาที (Kpbs) หากผู้ใช้งานกำหนดค่านี้สูง จะทำให้คุณภาพของ เสียงและภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้น แต่ขนาด ไฟล์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

         3.Video Sample Size การแสดงผลความละเอียดต่อพิกเซล โดยมีหน่วยเป็นบิต (bit)

         4.Video compression เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัส ข้อมูล ซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของวิดีโอ และเป็นตัวกำหนดว่าวิดีโอนั้นจะใช้ฟอร์แมตใด

ที่มา : http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/89-what-is-video

ความรู้เรื่องกล้องวิดีโอ


กล้องวีดีโอคืออะไร???

กล้องวีดีโอ เป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน

การใช้กล้องวิดีโอ ในปัจจุบันนิยมใช้กล้องวิดีโอแบบดิจิตอล เนื่องจากกล้องประเภทนี้มีความคมชัด และมีความละเอียดของภาพสูง จึงมีลักษณะใกล้เคียงความจริงสามารถเขียนบันทึกลงแผ่น CD หรือ DVD ได้ทันที กล้องวิดีโอดิจิตอลได้พัฒนามาถึงระบบบันทึกด้วยฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Camcorder) มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีความจุสูงสามารถบันทึกวิดีโอได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และสามารถเลือกโหมด Ultra ที่ให้คุณภาพสูงสุดระดับ DVD




ประเภทของกล้องวิดีโอ

1.กล้องถ่ายวีดีโอแบบอนาล็อก คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลแบบความถี่ของสัญญาณ มีลักษณะคล้ายเส้นกราฟ ขึ้นและลง มีรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงเทป

2.กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล มี 3 รูปแบบได้แก่

2.1 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ VHS เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทป

2.2 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ 8 mm เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทปขนาด 8 mm

2.3 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ Hi เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบ ม้วนเทป ระบบ Hi8 คล้ายกับระบบ 8 mm แต่คุณภาพสูงกว่า

การใช้งานกล้องวิดีโอเพื่อให้เกิดประโยชน์

การเลือกใช้งานกล้องวิดีโอต้องเลือกใช้งานให้ตรงตามความถนัด และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้เช่น การใช้กล้องวิดีโอเพื่อการทำสารคดี การบันทึกวิดีโองานเลี้ยงสังสรรค์งานประเพณี เป็นต้น

ข้อมูลพื้นฐาน ที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกใช้กล้องวิดีโอ

ก่อนการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ เราควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับกล้องวิโอ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อกล้องวิดีโอได้อย่างสมบรูณ์แบบ และคุ้มค่ากับทุนที่ซื้อมากที่สุดเพราะ กล้องวีดีโอเป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน

เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ

1.ประมาณค่างบประมาณในการซื้อ

2.วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เลือกกล้องให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้ เช่น ใช้แบบพกพา ถ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา , ถ่ายกลางแดดธรรมดา หรือในที่มืด หรือถ่ายใต้น้ำ , ถ่ายเพื่อลงYoutube หรือ ถ่ายไว้ดูเล่น , ถ่ายแบบง่ายๆ หรือถ่ายแบบนักทำหนังมืออาชีพ

3.ดูค่าความละเอียด ปัจจุบันนิยมใช้กล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอลมีทั้งแบบ SD (standard definition) และแบบ HD (high definition) สำหรับแบบ SD ราคาจะถูกกว่าแบบHD เพราะเหมาะสำหรับการถ่ายวิดีโอธรรมดาสำหรับดูด้วยคอมพิวเตอร์หรือทีวีแบบธรรมดา แต่สำหรับกล้องถ่ายดิจิตอลแบบ HD นั้นจะบันทึกภาพได้ด้วยความละเอียดที่สูงกว่าเพื่อแสดงบน HDTV ได้อย่างคมชัด ละเอียด สมจริง

4.เลือกรูปแบบการจัดเก็บภาพและเสียง มีการบันทึกเสียงที่ชัดเจน สามารถปิดเสียงโดยรอบได้ ขณะบันทึกช่องของเสียงและการเคลื่อนไหวของภาพ ตรงกัน และชัดเจน เก็บเสียงได้โดยรอบ

5.ความสามารถพิเศษของกล้อง ความสามารถพิเศษที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของรุ่นเพื่อแยกความแตกต่าง ทำให้ราคาของกล้องต่างกันมีดังนี้

           1. Optical zoom : เพื่อให้ขยายภาพได้อย่างชัดเจน ขนาดการซูมจึงสำคัญ กล้องบางรุ่นซูมได้ถึง 48x

           2. Image Stabilization : ช่วยป้องกันภาพสั่น จากการถือกล้องสั่น โดยเฉพาะในขณะซูมภาพระยะไกล

           3. Photo Feature : บางรุ่นสามารถใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง และสามารถปรับการถ่ายภาพนิ่งแบบต่างๆ ได้

           4. Audio Recording : กล้องถ่ายวิดีโอบางรุ่น เพิ่มความสมจริงให้กับระบบการอัดเสียง ด้วยระบบการอัดแบบ Dolby Digital surround 5.1 ที่ให้คุณเปิดเสียงฟังจากชุดโฮมเธียร์เตอร์ของคุณได้อย่างสมจริง

คุณภาพของกล้องวิดีโอที่ได้มาตรฐาน คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อกล้อง

1. Manufacturer ชื่อผู้ผลิต

2. Model Name ชื่อรุ่น

3. Dimensions ขนาดของกล้อง

4. Weight น้ำหนัก

5. Format รูปแบบของกล้อง

6. Image Device (CCD) รายละเอียด CCD

7. Lines of Resolution จำนวนเส้นความละเอียด

8. Still Image Resolution ขนาดความละเอียดของภาพนิ่ง

9. Lens Detail รายละเอียดของเลนส์

10. Optical Zoom จำนวนเท่าของการซูมแบบออฟติคอล

11. Digital Zoom จำนวนเท่าของการซูมแบบดิจิตอล

12. lllumination Rating ค่าต่ำสุดสำหรับการถ่ายวิดีโอในที่มืด

13. Viewfinder รูปแบบช่องมองภาพ

14. LCD screen รายละเอียดของจอ LCD

15. Storage Card รูปแบบการ์ดความจำ

16. Image Stabilizer ฟังก์ชั่นป้องการสั่นไหวของกล้อง

17. Audio Record รูปแบบการบันทึกเสียง

18. Speacial Effects / Feature เอฟเฟ็กต์และฟังก์ชั่นพิเศษ

19. Hot Shoe ช่องต่ออุปกรณ์เสริม เช่น แฟรช, วิดีโอ

20. Input ช่องต่ออุปกรณ์เข้าตัวกล้อง

21. Output ช่องต่ออุปกรณ์ออกจากตัวกล้อง

22. Battery type ประเภทของแบตเตอรี่

23. Price ราคา

24. Warranty การประกัน

การใช้โปรแกรมดาวน์โหลดวิดีโอ จากคลิปวิดีโอที่อยู่บนเว็บไซต์ มีให้เลือกหลายโปรแกรม เช่น การดาวน์โหลดคลิปวิดีโอโดยใช้เว็บบราวเซอร์เป็นตัวดาวน์โหลด เช่น เข้าเว็บไซต์กูเกิ้ลแล้วพิมพ์ที่ช่องการค้นหาว่า “โหลด youtube ผ่านเว็บ” ก็จะมีฟรีเว็บไซต์ให้เราเลือกใช้ในการดาวน์โหลดวิดีโอ หากเป็นการดาวน์โหลดวิดีโอมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้โปรแกรม IDM , realplayer , orbit , free youtube ทั้งนี้การดาวน์โหลดวิดีโอ ควรดาวน์โหลดมาเพื่อการศึกษา ไม่ใช่การหาผลประโยชน์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น



ที่มา : http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/91-video-camera-knowledge

Encode ไฟล์ด้วยโปรแกรม Megui


ก่อนอื่นเลยเราต้องมีโปรแกรม Megui ซะก่อนใครยังไม่มีก็ไปโหลดเลยใน Google
เนื่องจากการเอ็นโค้ดนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาที่นานมาก และจะไม่สามารถแก้ไขงานหลังจากการเอ็นโค้ดเสร็จแล้ว ฉะนั้นก่อนที่จะทำการเอ็นโค้ด ท่านจะต้องแนใจว่างานนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่งั้นจะเท่ากับว่าเราเสียเวลาเปล่านั่นเอง

จริงๆในการเอ็นโค้ดนั้น มีเป็นสิบๆวิธีเลย ไม่มีผิดไม่มีถูก เพราะมันก็เอ็นโค้ดได้เหมือนกัน มันแล้วแต่คนจะใช้ แล้วแต่คนจะเลือก


มาเริ่มกันเลยดีกว่าเนอะ
สมมุติว่ามีไฟล์ที่ต้องการจะเอ็นโค้ดดังรูป ในที่นี้เป็น OP ของ Angel Beats!

เปิดโปรแกรม AvsP ขึ้นมา จากนั้นไปที่ Edit > Insert > Insert Plugin 

ให้เลือกไฟล์ที่ชื่อว่า VSFilter.dll  


จากนั้นไปที่ Edit > Insert > Insert Source ครับ
ให้เลือกไฟล์วิดีโอของเราครับ 

จากนั้นให้เราพิมคำเพิ่มไปตามนี้ครับ TextSub("ที่อยู่ของไฟล์ซับ") ซึ่งในที่นี้ของผมเป็น
TextSub("C:\Users\Ratien\Desktop\New folder\Angel Beats! OP [My Soul , Your Beats!].ass")
*ในกรณีที่ต้องการลดหรือเพิ่มขนาดวิดีโอ ให้พิมพ์เพิ่มเอาไป BilinearResize(x,y)
โดยที่ x , y เป็นค่าResolutionที่เราจะปรับครับ ถ้าไม่ปรับก็ไม่ต้องพิมพ์เพิ่ม 


จากนั้นไปที่ File > Save Script As ตั้งชื่อและก็เลือกที่อยู่
จะสังเกตุว่ามีไฟล์ AviSynth เพิ่มขึ้นมาไฟล์นึง 

ต่อเลยละกัน เปิดโปรแกรม megui ขึ้นมา

ทำความเข้าใจกันก่อน เราจะแยกวิดีโอของเรา เป็น2ส่วนคือภาพและเสียง จากนั้นเราจะฝังซับไว้กับภาพ และสุดท้ายคือนำภาพและเสียงมารวมกันใหม่

ขอเริ่มที่เสียงก่อน ในช่อง Audio Input ให้เลือกไฟล์วิดีโอของเรา

จากนั้นให้ปรับรูปแบบที่ต้องการในช่อง Encoder Settings ในที่นี้ผมขอใช้เป็น Winamp AAC ละกัน ใครต้องการจะปรับแต่งอะไรก็ไปที่ Config ได้เลย

จากนั้นกด Enqueue ก็เป็นอันเสร็จสำหรับเรื่องเสียง

ไปที่ภาพกันต่อเลย ในช่อง Avisynth Script ให้เลือกไฟล์ AviSynth ที่เราใช้ AvsP สร้างขึ้นมาเมื่อสักครู่

เสร็จแล้วโปรแกรมจะเปิดตัวอย่างให้เราดูครับ ดูเสร็จแล้วก็กดปิดไปเลย

นี่เป็นโค้งสุดท้ายสำหรับการแก้ไขซับแล้ว หลังจากนี้ไม่มีสิทธิ์แก้แล้ว ผิดแล้วผิดเลย เอ็นโค้ดใหม่เท่านั้น
ในช่อง Encoder Settings ให้เลือกรูปแบบของภาพครับ ในที่นี้ผมขอเลือกเป็น x264 HD Balanced 

โดยส่วนตัวแล้ว อันไหนๆมันก็เหมือนๆกัน ไม่เห็นถึงความแตกต่างเท่าไร
ในช่อง File Format ให้เลือกเป็น MP4 ครับ จากนั้นก็กด Enqueue

แล้วถ้าต้องการเป็น MKV ล่ะต้องเลือก MKV ใช่ไหม ???
ไปที่ช่อง Queue  จะเห็นว่า มีไฟล์ที่เราเพิ่งกด Enqueue มา ให้เรากด Start 

ลืมบอกไปว่าในช่อง output ของทั้งภาพและเสียงตอนก่อนกด Enqueue นั้น อย่าลืมตั้งชื่อไฟล์ด้วยล่ะ ในที่นี้ลืมไปเต็มๆ แคปรูปมาแล้วด้วยสิ ขอตัวไปแก้แปป
ตัวเสียงจะใช้เวลาไม่นานครับ แต่ตัวภาพนี่สิ นานพระเจ้า จะเร็วจะช้าขึ้นอยู่กับ CPU ของท่านแหละ
ถ้าสมมุติว่า Error ให้เปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบอื่น ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแก้ยังไง มีหลายอัน Error เหมือนกัน บางอันเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย Errorมั่ง ไม่Errorมั่ง วุ่นวายมากๆ
เอาล่ะ สมมุติว่าเสร็จแล้วละกัน ทำเสร็จก่อนหน้าที่จะมาพิมพ์แล้ว อิอิ เราก็จะได้ไฟล์ภาพที่ติดซับแล้วแต่ไม่มีเสียง กับไฟล์เสียงที่ไม่มีภาพ

ในโปรแกรม megui ครับ ให้ไปที่ Tools > Muxer > MKV หรือ MP4 Muxer

ตรงนี้ คือจุดพลิกเกม ถ้าต้องการเป็น MKV ก็เลือก MKV Muxer ถ้าต้องการ MP4 ก็เลือก MP4 Muxer

เพื่อนๆจะสังเกตุได้ว่า MP4 สามารถ Mux ได้ทั้ง MKV และ MP4 แต่ MKV จะสามารถ Mux ได้แค่ MKV เท่านั้น ฉะนั้นตอนเลือก File Format นั้น เลือกเป็น MP4 ไว้จะดีกว่า

ในช่อง Video ก็เลือกไฟล์ภาพที่ตะกี้เราเอ็นโค้ดมา ในช่อง Audio ก็เลือกไฟล์เสียงที่ตะกี้เราเอ็นโค้ดมาเหมือนกัน
ส่วนในช่อง Subtitle ไม่ต้องไปสนใจ ปล่อยว่างไปเลย 

จากนั้นกลับไปที่ Queue  จะมีงานใหม่ขึ้นมาอีกแล้ว อันเก่ากด Delete ไปเลย จากนั้นก็กด Start มันจะใช้เวลาแปปเดียวไม่นาน ประมานตอนทำเสียงแหละ แค่นี้ก็เสร็จสมบูรณ์แบบ



เครดิต> TanZaMaZaRa จากเว็บ poripuri


ที่มา : http://www.anime-thai.net/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=9820&extra=